วันอาทิตย์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2561

การกำหนดค่าการเชื่อมต่อ WiFi ของ ESP-01 ผ่านหน้าเว็บ

การกำหนดค่าการเชื่อมต่อ WiFi ของ ESP-01 ผ่านหน้าเว็บ

หากต้องกำหนด SSID และ Password สำหรับการเชื่อมต่อ WiFi ไว้ภายในโค้ด คงไม่สะดวกนักเมื่อต้องเปลี่ยนไปใช้สัญญาณ WiFi ตัวใหม่ เนื่องจากต้องแก้ไขค่า SSID และ Password ในโค้ดแล้วจึงอัพโหลดโค้ดไปยัง ESP-01 ใหม่

ดังนั้น เพื่อให้การกำหนดค่าการเชื่อมต่อ WiFi ทำได้ง่ายมากขึ้น สามารถใช้ไลบรารีที่ใช้สำหรับการจัดการการเชื่อมต่อ WiFi ที่มีอยู่ เช่น AutoConnect หรือ WiFiManager เป็นต้น ได้

วันเสาร์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2561

การโปรแกรม ESP-01 ด้วย Arduino IDE

การโปรแกรม ESP-01 ด้วย Arduino IDE

สามารถโปรแกรม ESP8266 ESP-01 โดยใช้ Arduino IDE และอัพโหลด sketch โดยใช้ Arduino UNO ทำหน้าที่แปลง USB เป็น Serial เพื่อส่งข้อมูลไปยัง ESP-01 ได้

อุปกรณ์

  1. Arduino Uno
  2. ESP8266 ESP-01
  3. Buck Converter

การ Update เฟิร์มแวร์ของ ESP-01

การ Update เฟิร์มแวร์ของ ESP-01

ในกรณีที่ต้องการ Update AT firmware เวอร์ชันใหม่ หรือกรณีที่โปรแกรม ESP-01 ไปแล้วแต่ต้องการนำ AT firmware กลับมา (การโปรแกรมทำให้ AT firmware หายไป) สามารถทำได้โดยอัพโหลด AT firmware ผ่านทาง Arduino ได้

อุปกรณ์

  1. Arduino Uno
  2. ESP8266 ESP-01
  3. Buck Converter

การควบคุม ESP8266 ESP-01 ด้วย AT command

การควบคุม ESP8266 ESP-01 ด้วย AT command

ESP-01 เป็นโมดูล WiFi โดยตัวมันเองจะมี SOC (System On a Chip) เป็นของตัวเอง ทำให้สามารถทำงานและรับอินพุตหรือส่งเอาต์พุตได้เองโดยไม่ต้องอาศัยไมโครคอนโทรลเลอร์อื่น ซึ่ง ESP8266 สามารถมีได้ถึง 9 GPIOs (General Purpose Input Output) ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับรุ่น ดังนั้นเราสามารถนำมาประยุกต์ใช้สำหรับทำให้ไมโครคอนโทรลเลอร์ เช่น Arduino สามารถเชื่อมต่อกับ WiFi หรือจะโปรแกรมคำสั่งลงไปใน ESP8266 โดยตรงก็ได้เช่นกัน

วันเสาร์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

การใช้เซนเซอร์วัดอุณหภูมิและความชื้น

การใช้เซนเซอร์วัดอุณหภูมิและความชื้น

สามารถนำการวัดอุณหภูมิและความชื้นในอากาศไปประยุกต์ใช้ได้หลากหลาย เช่น ระบบควบคุมในโรงเรือน โรงเพาะชำ โรงเพาะเห็ด และห้องควบคุมอุณหภูมิ เป็นต้น โดยการใช้งานนี้สามารถใช้ได้กับเซนเซอร์วัดอุณภูมิได้หลายรุ่น ทั้ง DHT11, DHT21, DHT22 ซึ่งให้ค่าออกมาเป็นดิจิตอล
ที่มา: https://www.brack.ch/adafruit-sensor-am2302-temperatur-278850

วันเสาร์ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

วัดระยะด้วย Ultra sonic

วัดระยะด้วย Ultrasonic sensor

ที่มา : https://www.arduitronics.com/article/18/ultrasonic-ranging-module-hc-sr04

การวัดระยะด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงหรือ Ultrasonic จะทำงานโดยการส่งคลื่นเสียงความถี่ 40 kHz ออกไปจากลำโพงตัวซ้าย แล้วรอฟังคลื่นเสียงที่สะท้อนกลับมาเมื่อกระทบวัตถุด้วยลำโพงตัวขวา ด้วยการเริ่มนับเวลาที่ส่งคลื่นออกไป จนถึงได้รับคลื่นกลับมา ทำให้สามารถหาระยะห่างระหว่างวัตถุกับเซ็นเซอร์ได้ หลักการดังกล่าวเป็นหลักการเดียวกับที่ค้างคาวใช้ในการบินหลบหลีกสิ่งกีดขวางในเวลากลางคืน โดย

ระยะห่าง = ระยะเวลา * ความเร็วเสียง / 2

วันศุกร์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

Digital Input โดยใช้ปุ่ม

Digital Input โดยใช้ปุ่ม

บอร์ด Arduino มี Digital I/O PINs สำหรับใช้รับค่าหรือควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ ซึ่งสัญญาณดิจิตอล หมายถึง สัญญาณทางไฟฟ้าที่มีค่าการทำงาน 2 ค่า คือ 1 (High) และ 0 (Low) ดังนั้นเมื่อใช้ Digital Pins ของ Arduino เป็นตัวรับค่าสัญญาณ ค่าที่ Arduino อ่านได้จะมีเพียง 2 ค่า คือ HIGH และ LOW